top of page

ปัญหาสายไฟ ที่พบบ่อย สายไฟชำรุด พร้อมวิธีป้องกันและซ่อมแซม


ปัญหา สายไฟ ที่พบบ่อย สายไฟชำรุด พร้อมวิธีป้องกันและซ่อมแซม

ปัญหาสายไฟชำรุดนับว่าเป็นหนึ่งในปัญหาที่เกิดขึ้นกับงานระบบค่อนข้างบ่อย ซึ่งการซ่อมแซมนั้นก็ย่อมมีความยากง่ายตามลักษณะของการติดตั้งสายไฟแต่ละประเภทด้วย ทั้งนี้ การซ่อมแซมสายไฟที่เกิดปัญหา เช่น สายไฟขาด ผู้ที่ซ่อมและแก้ไขต้องมีความเข้าใจในงานระบบ มีความเชี่ยวชาญด้านงานไฟฟ้า เพราะหากไม่มีความเชี่ยวชาญและไม่สามารถเลือกวิธีแก้ไขได้อย่างเหมาะสม ก็อาจนำไปสู่อันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้เช่นกัน

การแก้ไขปัญหาสายไฟชำรุดด้วยสาเหตุต่าง ๆ นั้น ผู้ที่เข้ามาทำการแก้ไขต้องมีความเข้าใจการแก้ปัญหาอย่างดี และที่สำคัญคือ ต้องรู้จักการหาวิธีป้องกันเพื่อไม่ให้สายไฟชำรุดด้วยเช่นกัน

  1. สายไฟชำรุด เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง

  2. วิธีแก้ไขเมื่อพบว่าสายไฟชำรุดอย่างถูกต้อง

  3. สาระน่ารู้ วิธีป้องกันไม่ให้สายไฟชำรุดหรือขาด

สายไฟชำรุด เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง

สำหรับปัญหาสายไฟชำรุดเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นการขาด บิ่น หรือแม้แต่การหมดอายุใช้งาน ย่อมเป็นสาเหตุหลักที่นำไปสู่ปัญหาใหญ่ ๆ ได้ในภายหลัง ทั้งความอันตรายต่อการใช้งาน หรือแม้แต่การเป็นต้นเหตุของไฟฟ้าลัดวงจรจนนำไปสู่การเกิดอัคคีภัยได้ โดยสาเหตุของการชำรุดของสายไฟนั้นก็มีหลากหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น

  • สายไฟ ที่ใช้หมดอายุการใช้งาน ซึ่งอาจทำให้ฉนวนหุ้มเปลือกขาด เมื่อสายไฟกิดการสัมผัสกันของตัวนำไฟฟ้าภายในสายไฟ ซึ่งก็อาจนำมาสู่การทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรได้

  • ตัวนำไฟฟ้าวางพาดบนสายไฟไม่มีฉนวนหุ้ม

  • ฉนวนหุ้มสายไฟละลายหรือฉีกขาด

  • เปลือกที่หุ้มสายไฟเป็นสายเปลือยทั้ง 2 สาย ซึ่งอาจทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าได้

  • การต่อสายไฟที่ไม่ได้มาตรฐานหรือถูกต้อง

  • การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ผิดขนาด

  • สายไฟมีการหักหรืองอบ่อยครั้ง จนทำให้สายทองแดงที่อยู่ด้านในหักและงอไปพร้อม ๆ กัน

Tips: ในกรณีที่ถอดปลั๊กไฟไม่ถูกวิธี เช่น การกระตุกสายไฟ ไม่จับที่ปลั๊กไฟโดยตรงแล้วค่อย ดึงออก ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้สายไฟขาดและชำรุดได้เช่นกัน


ใช้ สายไฟ ที่เหมาะสมกับการใช้งานอย่างถูกต้อง


หาสาเหตุที่ทำให้สายไฟชำรุดหรือเสียหาย

ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่าสายไฟที่ชำรุดเสียหายนั้นเกิดจากสาเหตุอะไร เช่น ถูกสัตว์กัดแทะจนทำให้ สายไฟขาด หรือแม้แต่การรั่วไหลของไฟ ซึ่งการตรวจสอบในเบื้องต้นคือใช้ไขควงเช็กไฟ โดยนำไปแตะลงบนสายไฟว่ามีไฟสว่างหรือไม่ หากมีก็ให้รีบทำการตัดไฟในจุดนั้น ๆ ทันที เพราะนั่นแสดงว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นคือจุดที่เป็นสายทองแดง ซึ่งถือว่าอันตรายเป็นอย่างมาก ต้องทำการตัดไฟทันที ห้ามซ่อมแซมโดยที่ยังมีกระแสไฟฟ้าอยู่เด็ดขาด


1. ปอกสายฉนวนสีขาวออกจากบริเวณจุดที่สายไฟชำรุด

ลำดับต่อมาให้ทำการปอกสายฉนวนสีขาวที่อยู่ภายนอกออกจากจุดที่มีความเสียหาย เพื่อทำการแยกสายไฟที่อยู่ภายนอกให้ออกจากกัน เพื่อไม่ให้เกิดการเสียดสีจนนำมาสู่การเกิดประกายไฟได้


2. เช็คความเสียหายแล้วนำเทปพันสายไฟมาพันทับ

เมื่อตรวจเช็คความเสียหายของสายไฟ แล้วก็ให้นำเทปพันสายไฟที่มีมาพันทับสายไฟในแต่ละเส้นให้เรียบร้อย โดยในจุดที่ปอกเอาสายฉนวนออกก็ให้พันสายไฟประมาณ 5 รอบ หลังจากนั้นให้ช่างไฟทำการพันรวมสายไฟเข้าด้วยกัน ทั้งนี้ การพันสายไฟใหม่ควรมีขนาดเท่ากันกับสายไฟเดิม แล้วให้ทำการยึดสายไฟใหม่เข้ากับสายเดิมให้เรียบร้อย


สาระน่ารู้ วิธีป้องกันไม่ให้สายไฟชำรุดหรือขาด

สำหรับ วิธีซ่อมสายไฟขาด หรือชำรุดเสียหาย ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด ๆ ก็ตาม ต้องทำด้วยความระมัดระวังและมีการตรวจเช็กความพร้อมก่อนเริ่มต้นซ่อมสายไฟทุกครั้ง และควรหาวิธีป้องกันเพื่อไม่ให้สายไฟเกิดการชำรุดด้วยเช่นกัน



1. ป้องกัน สายไฟ ขาดด้วยการใช้รางไฟ

การป้องกันไม่ให้สายไฟชำรุดเสียหายที่ดี คือการเลือกใช้รางไฟในการเดินสายไฟ เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้สายไฟชำรุดจากสาเหตุต่าง ๆ ทั้งยังช่วยอำนวยความสะดวกต่อการบำรุงซ่อมแซม และการเลือกรางไฟก็ควรมีความแข็งแรง ทนทาน มีมาตรฐาน ทั้งนี้ก็เพื่อทำให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานมากที่สุด และช่วยป้องกันอันตรายจากการใช้ไฟฟ้า เช่น ไฟดูด ไฟช็อต ไฟฟ้าลัดวงจร เป็นต้น

ทั้งนี้ การเลือกใช้สายไฟคู่กับรางไฟ ก็ยังช่วยป้องกันปัญหาอื่น ๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อสายไฟจนนำมาสู่การชำรุดเสียหายได้ ไม่ว่าจะเป็น

  • ฝุ่นที่เข้ามาเกาะกับตัวสายไฟ จนทำให้เป็นปัญหาต่อการทำความสะอาดและบำรุงรักษา

  • น้ำที่มาจากการฝนตก รวมถึงอุบัติเหตุต่าง ๆ เช่น การทำน้ำหกใส่สายไฟ ซึ่งก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาไฟช็อตหรือไฟดูดได้

  • รางไฟจะช่วยทำให้สายไฟยังคงสภาพเดิม ไม่เก่าง่าย ใช้งานได้ยาวนาน และง่ายต่อการซ่อมบำรุง

  • ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะไม่ต้องเปลี่ยนสายไฟบ่อย หากเทียบกับสายไฟที่ติดตั้งแล้วไม่ใช้รางไฟ

2. หมั่นตรวจสภาพของฉนวนไฟฟ้าเสมอ

นอกเหนือจากการใช้รางไฟในการติดตั้ง เพื่อป้องกันปัญหา สายไฟขาด หรือเสียหายแล้ว ก็ควรหมั่นตรวจเช็คความเรียบร้อยของสายไฟอย่างสม่ำเสมอด้วยเช่นกัน ทั้งฉนวนไฟฟ้า ตลอดจนอุปกรณ์ไฟฟ้านานาชนิด โดยเฉพาะบริเวณขั้วต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า อาทิ ปลั๊ก ขั้วหลอด ซึ่งถ้าหากพบว่าชำรุดหรือเสียหายก็ควรทำการซ่อมแซมและเปลี่ยนอุปกรณ์ทันที


3. ใช้ สายไฟ ที่เหมาะสมกับการใช้งาน

สิ่งสำคัญที่สุดของระบบไฟฟ้า คือการเลือกใช้สายไฟให้เหมาะสมกับงานระบบ เพราะสายไฟบางประเภทก็จะมีการจำกัดการใช้งาน เช่น สายไฟฟ้าที่มีสายดินในตัว ซึ่งเป็นพื้นฐานของสายไฟที่ใช้สำหรับสายดิน หรือบางประเภทก็จะเหมาะสมกับการใช้ภายนอกอาคาร เพราะฉะนั้น เมื่อต้องเลือกใช้สายไฟในงานระบบก็ต้องดูประเภทและชนิดให้เหมาะสม รวมถึงขนาดและกระแสไฟฟ้าที่รองรับด้วยเช่นกัน


อย่างไรก็ตาม ปัญหา สายไฟชำรุด ที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด ๆ ก็ตาม สุดท้ายแล้วคือการเลือก วิธีซ่อมสายไฟขาด อย่างถูกต้อง และต้องมีความระมัดระวังในทุก ๆ ขั้นตอน และในขณะที่แก้สายไฟก็ควรให้ตำแหน่งของสายไฟอยู่ห่างพอสมควรก่อนจะเริ่มงานซ่อมแซม โดยช่างไฟต้องตรวจดูความเรียบร้อยทั้งอุปกรณ์ในการใช้งาน รวมถึงการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง แต่หากใครที่ไม่มีความรู้เรื่องงานช่างหรืองานไฟฟ้า ก็ไม่ควรแก้ไขหรือซ่อมสายไฟเอง เพราะเสี่ยงที่จะถูกไฟช็อตและไฟดูดจนเป็นอันตรายถึงชีวิต


ขอบคุณความรู้ดีๆ จาก : https://www.poonsincable.co.th/damaged-cable/

bottom of page