top of page

ท่อร้อยสายไฟ PVC กับ โลหะ ใช้งานแตกต่างกันอย่างไร


ท่อร้อยสายไฟ PVC กับ โลหะ ใช้งานแตกต่างกันอย่างไร


การเลือก ท่อร้อยสายไฟ เพื่อเดินระบบสายไฟภายในบ้าน หรือแม้แต่การเลือกวางระบบ สายไฟ ภายในอาคารและสำนักงานต่าง ๆ นั้น นับว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้งานระบบไฟเป็นระบบระเบียบมากยิ่งขึ้น ซึ่งหากใครที่มีความรู้พื้นฐานด้านงานช่าง และอยากจะหาท่อร้อยสายไฟด้วยตัวเอง เพื่อประหยัดงบประมาณจากการจ้างช่างแบบครบวงจร มาลองดูกันว่าท่อร้อยสายไฟประเภท PVC และ ท่อร้อยสายไฟโลหะ ทั้งสองชนิดนี้มีลักษณะการใช้งานอย่างไร

สำหรับท่อร้อยสายไฟไม่ว่าจะเป็นแบบ PVC หรือแม้แต่แบบโลหะ เช่น EMT IMC ต่างก็มีลักษณะการใช้งานที่ต่างกันออกไป โดยเฉพาะคุณสมบัติจำเพาะที่มีผลต่อการใช้งานระบบไฟฟ้าทั้งทางตรงและทางอ้อม


รู้จัก ท่อร้อยสายไฟ อุปกรณ์สำคัญของงานไฟฟ้า

สำหรับ ท่อร้อยสายไฟ (Electrical Conduit) นั้น เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่ใช้ในงานไฟฟ้าที่สำคัญไม่แพ้กับสายไฟ ซึ่งมีหน้าที่ร้อยสายไฟฟ้าและสายสัญญาณต่าง ๆ ให้มีความเป็นระเบียบ ช่วยป้องกันสายไฟหรือสายสัญญาณจากอันตรายต่าง ๆ และสิ่งแปลกปลอมที่อาจทำให้สายไฟชำรุดเสียงหายได้ เช่น สายไฟขาด ซึ่งการติดตั้งท่อร้อยสายไฟก็มีหลากหลายแบบ ทั้งการฝังใต้ผนัง ใต้พื้น บนฝ้า โดยการใช้งานแต่ละรูปแบบก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการติดตั้งในจุดนั้น ๆ

ท่อร้อยสายไฟพลาสติก PVC สำหรับการวางระบบสายไฟ

สำหรับท่อ PVC (Poly Vinyl Chloride) เป็นท่อร้อยสายไฟที่ทำมาจากพลาสติก PVC มองเผิน ๆ จะเหมือนกับท่อประปา มีน้ำหนักเบา ราคาไม่แพงมากนักหากเทียบกับ ท่อร้อยสายไฟโลหะ ซึ่งเหมาะต่อการร้อยสายไฟ สายโทรศัพท์ และสายสัญญาณให้เป็นระเบียบ ช่วยป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้ารั่วและไฟดูด

โดยท่อร้อยสายไฟชนิดนี้มีข้อดีหลัก ๆ คือต้านเปลวไฟ แต่ก็มีข้อจำกัดคือ หากถูกแดดนาน ๆ ก็ส่งผลให้ท่อกรอบแตกได้ง่าย เมื่อเกิดไฟไหม้ก็จะทำให้เกิดแก๊สพิษซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วท่อร้อยสายไฟชนิดนี้จะแบ่งแบบง่าย ๆ คือ

ทำมาจากพลาสติก PVC โดย ท่อร้อยสายไฟPVC มีคุณสมบัติเด่นคือการต้านเปลวไฟ แต่หากถูกไฟไหม้ก็จะมีแก๊สพิษ นอกจากนี้ยังไม่ทนทานต่อรังสี UV เมื่อโดนนาน ๆ ก็จะทำให้ท่อกรอบแตกได้ง่าย ทั้งนี้ ท่อที่ใช้ในงานระบบไฟฟ้าจะมีตั้งแต่ขนาด ½ – 4 นิ้ว โดยที่ยาวท่อนละ 4 เมตร



ท่อ HDPE (High Density Polyethylene)

เป็นท่อพลาสติก Polyethylene ชนิด High Density โดยมีคุณสมบัติเด่น ๆ คือ มีความแข็งแรงสูง สามารถทนทานต่อการยืดหยุ่นได้ดี ตัวท่อมีทั้งแบบผิวเรียบและแบบลูกฟูก ซึ่งการใช้งานโดยส่วนมากจะนิยมใช้เดินสายบนผิวในที่โล่ง หรือใช้เดินบนฝ้าในอาคาร นอกจากนี้ ยังรองรับการเดินสายไฟที่ใช้เป็นสายดินได้ด้วย โดยตัวท่อมีขนาดตั้งแต่ ½ นิ้วขึ้นไป


ท่อ EFLEX (Flexible Conduit)

เป็นท่อพลาสติกอีกหนึ่งชนิดที่ทำมาจาก PA หรือ PE ซึ่งมีจุดเด่นหลัก ๆ คือ ความอ่อนตัวและความทนทาน สามารถดัดโค้งงอได้ดี และที่สำคัญคือ ไม่ติดไฟและไม่ลามไฟเหมือนท่อ PVC สีเหลือง



ประเภทของ ท่อร้อยสายไฟโลหะ ที่ควรรู้ในการใช้งาน

ท่อร้อยโลหะ IMC

โดย ท่อร้อยสายไฟเหล็ก IMC หรือท่อขนาดกลางนั้น เป็นท่อที่ใช้ร้อยสายไฟได้ทั้งภายในและภายนอก โดยตัวท่อมีความเรียบ มันวาว โดยปลายท่อจะทำเป็นเกลียว มีตัวอักษรที่ระบุขนาดและชนิดอย่างชัดเจนตามมาตรฐานที่กำหนดคือสีส้ม โดยจะมีความยาวโดยทั่วไปอยู่ที่ 3 เมตรต่อท่อน และมีความกว้างตั้งแต่ ½ ถึง 4 นิ้ว ซึ่งท่อชนิดนี้นิยมนำมาเดินลอยทั้งฝังผนัง นอกอาคาร และพื้นคอนกรีต


ท่อร้อยสายไฟโลหะ EMT

เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าท่อขนาดบาง โดยปลายทั้งสองของท่อจะเรียบ ไม่สามารถบิดเกลียวได้ ตัวอักษรที่ใช้ระบุชนิดของท่อคือสีเขียว ซึ่งตัวท่อส่วนใหญ่จะมีความยาวอยู่ที่ 3 เมตร ความกว้างมีขนาดตั้งแต่ ½ ไปจนถึง 2 นิ้ว ซึ่งเป็นท่อที่เหมาะกับการใช้งานภายในตัวอาคารมากที่สุด หรือจะฝังผนังคอนกรีตก็ได้ แต่ห้ามนำไปฝังดินหรือพื้นคอนกรีต


ท่อร้อยสายไฟโลหะแบบ RSC

ท่อแบบหนาพิเศษ จะมีความคล้ายกับท่อ IMC และท่อแบบ EMT แต่จะหนากว่าพอสมควร โดยปลายท่อจะทำเกลียวไว้ให้เพื่อให้สะดวกต่อการใช้เครื่องดัดท่อ โดยตัวท่อจะมีการระบุชนิดและขนาดด้วยตัวอักษรสีดำ ทั้งนี้ ความกว้างจะจะอยู่ที่ ½ ไปจนถึง 3 นิ้ว และมีขนาดท่อละ 3 เมตร


ท่อโลหะแบบอ่อนกันน้ำ

เป็นท่อโลหะที่หุ้มเปลือก PVC เอาไว้ด้านนอก เพื่อช่วยป้องกันความชื้นจากภายนอกไม่ให้เข้ามาภายในท่อ ซึ่งเป็นท่อที่ตอบโจทย์การใช้งานสำหรับการฝังในผนังหรือพื้นคอนกรีต จึงทำให้เหมาะต่อการใช้งานในพื้นที่ที่เจอกับความชื้นมาก ๆ หรือท่อที่ต้องการความอ่อนตัว โดยที่ไม่ทำให้สายไฟชำรุด


ท่อเหล็กแบบอ่อน

สำหรับท่อร้อยสายไฟชนิดนี้จะมีความโค้งงอได้ค่อนข้างดี โดยที่ไม่ทำให้ สายไฟ เกิดรอยขีดข่วนจนทำให้เกิดการชำรุดเสียหาย มีความทนทานต่อแรงสั่นสะเทือนได้ดี นิยมใช้งานในที่แห้งเป็นหลัก และไม่ควรใช้ในจุดหรือห้องที่มีแบตเตอรี่ จุดที่มีความชื้นมาก ๆ หรือแม้แต่ช่องขึ้นลง และที่สำคัญคือ ห้ามใช้สำหรับการเดินสายดินเด็ดขาด


ข้อดีของการใช้ ท่อร้อยสายไฟ ในงานระบบ

สำหรับการใช้งานท่อร้อยสายไฟ ไม่ว่าจะเป็นประเภท PVC หรือแม้แต่แบบโลหะ จะเห็นได้เลยว่ามีผลดีต่องานระบบด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น

  • ช่วยป้องกันสิ่งแปลกปลอมที่เข้าไปทำลายสายไฟได้ดี อาทิ น้ำ ฝุ่น ของเหลว แมลง สัตว์กัดแทะ สารเคมี ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยในการทำให้สายไฟชำรุด

  • ช่วยให้งานระบบไฟฟ้าหรือการเดินสายไฟเป็นระเบียบเรียบร้อย

  • ช่วยลดปัญหาและอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ อาทิ ไฟฟ้าลัดวงจร

  • สามารถเลือกท่อที่เหมาะกับการเดินสายไฟได้ เช่น เดินลอยด้วยท่อ PVC สีขาวโดยไม่ต้องทาสีทับ

อย่างไรก็ตาม หากเทียบเรื่องของข้อดีการใช้งาน ท่อร้อยสายไฟ ไม่ว่าจะเป็นแบบ PVC หรือ ท่อร้อยสายไฟโลหะ ก็จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือทำให้งานเดิน สายไฟ เป็นระเบียบ ป้องกันสิ่งแปลกปลอมที่อาจทำให้สายไฟชำรุดและเสียหาย แต่ในเรื่องของการใช้งานก็จะมีความแตกต่างกันพอสมควร โดยเฉพาะท่อแบบ PVC จะไม่เหมาะกับการใช้ร้อยสายไฟแบบฝังดิน


ขอบคุณความรู้ดีๆ จาก : https://www.poonsincable.co.th

bottom of page